• Subcribe to Our RSS Feed

รถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้า

รถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้า

Electrical Wheel Chair

ปีการศึกษา: 2554

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย มีโอกาสเป็นเจ้าของ
  2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ Electrical wheel chair
  3. เพื่อศึกษาเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์
  4. เพื่อศึกษาระบบของมอเตอร์ และตัวขับ (Drive) ของมอเตอร์
  5. เพื่อศึกษาระบบเฟืองเกียร์

ที่มาและแรงบันดาลใจของการประดิษฐ์ (Inspiration)

  • ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต และอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการและคนชรา
  • ต้องการช่วยลดจำนวนผู้ดูแลที่หาได้ยากขึ้นในปัจจุบัน
  • ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้พิการและคนชรา โดยทำต้นทุนรถเข็นไฟฟ้าให้น้อยลงและทำให้ค่าซ่อมแซมถูกลง

บทสรุปงานสิ่งประดิษฐ์ รถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้า

เนื่องจากปัจจุบันรถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้ามีรูปร่างหลากหลายต่างกันไป ทั้งรูปร่างและราคา นักศึกษาจึงทำการศึกษาพัฒนารถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้าเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ และนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้งานเพื่อความสะดวกให้แก่บุคคลดังกล่าว เกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ต้นแบบชิ้นนี้เพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุใช้ได้เอนกประสงค์ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายลงได้อีก เนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่าปกติ ทำให้สามารถนำไปใช้กับผู้พิการและผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย หรือผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โดยประสิทธิภาพของรถคันนี้เทียบเคียงกับรถที่มีราคาสูงๆ ได้ เมื่อเกิดข้อบกพร่องกับโครงสร้างส่วนประกอบและชิ้นส่วนทางไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเปลี่ยนได้ทีละชิ้นตามที่บกพร่อง

รถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้า ด้านข้าง

รถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้า ด้านข้าง

รถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้า ด้านหลัง

รถเข็นเก้าอี้ไฟฟ้า ด้านหลัง

ทฤษฎี / หลักวิชาการที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น

ใช้หลักการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง มาเป็นตัวขับเคลื่อน และหลักการหยุดตัวใดตัวหนึ่งมาเป็นตัวบังคับเลี้ยว

หลักการทำงาน

เริ่มจากการควบคุมการเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ผ่านการควบคุมโดยใช้สวิตช์ และส่งสัญญาณที่เป็นอนาล็อก โดยใช้การเขียนโปรแกรม Microcontroller ในการประมวลผลสัญญาณที่ส่งมาจากกล่องสวิตช์ควบคุม แล้วทำการส่งสัญญาณต่อไปยัง Drive ของมอเตอร์ เพื่อสั่งให้มอเตอร์หมุน โดยใช้ DC Motor 2 ตัว แต่ละตัวหมุนล้อแต่ละข้าง โดยการหมุนของมอเตอร์ทั้งสองจะแยกอิสระออกจากกัน เช่น กรณีเลี้ยว ล้อข้างซ้ายหยุดแต่ล้อข้างขวายังหมุนเพื่อทำมุมเลี้ยวที่แคบ ถ้ารถเดินหน้าหรือถอยหลังมอเตอร์ทั้ง 2 ตัวจะหมุนพร้อมกัน ในกรณีที่ต้องการให้รถหมุนรอบตัวเองหรือหมุนรถกลับมอเตอร์ทั้ง 2 ตัวจะหมุนต่างกัน ใช้รีโมทเป็นตัวบังคับ ให้รถขับเคลื่อนได้เร็วพอประมาณสำหรับผู้พิการ

คุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์

  • โครงสร้าง/ส่วนประกอบและชิ้นส่วนทางไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเปลี่ยนได้ทีละชิ้น
  • บำรุงรักษา ซ่อมได้ง่าย
  • ราคาต้นทุนต่ำ

วัสดุอุปกรณ์

DC Motor 24 V 250 Watt, Lead-Acid Battery, เหล็กแป๊ปดำ, ล้อจักรยาน, เฟืองเกียร์และโซ่, ล้อเล็กหมุนได้, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้รับผิดชอบโครงงาน

  1. นายวีระ สมชนะ แผนกวิชาไฟฟ้า ปวส.2 (ม.6) (หัวหน้า)
  2. นายศิษฎ์ แก่นทอง แผนกวิชา ไฟฟ้า ปวส.2 (ม.6)
  3. นายเมธวัจน์ ศุภิศรารวิวงศ์ แผนกวิชาไฟฟ้า ปวส.2 (ม.6)

ที่ปรึกษาโครงงาน

อาจารย์เจริญ ต้นแทน, อาจารย์วราภรณ์ แสงโพธิ์

19,496 views