• Subcribe to Our RSS Feed

มารู้จักเลือดของเรากันหน่อย (Our Blood)

4 มี.ค. 2560   //   by admin2   //   เรื่องน่ารู้  //  Comments Off

 

มีเด็กช่างคิดถามมาว่า “ถ้าแดร็กคูล่าดูดเลือดผิดหมู่เข้าไป แดร็กคูล่าจะเป็นไรไหม”     dracula

คำตอบ “ไม่ทราบครับ ยังไม่เคยมีแดร็กคูล่าไปหาหมอเพราะไม่สบายหลังดูดเลือดโดยไม่เช็คหมู่เลือดของเหยื่อก่อน … แต่สำหรับน้องๆ ควรต้องทำความเข้าใจเรื่องหมู่เลือดไว้บ้างเพื่อประโยชน์ของตนเอง โดยเฉพาะคนที่มีเลือดหมู่พิเศษ 

———————————————————————————————————————————-

ความสำคัญของเลือด (โลหิต)

ภายในเลือดของเรานั้นมีทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ ก๊าซ เช่น ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้ง เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังมีสารจำพวกฮอร์โมน วิตามิน เอนไซม์ และ แอนติบอดี รวมอยู่ด้วย

ทั้งนี้เลือดซึ่งเป็นของเหลวสีแดงจะไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดทั่วร่างกาย จะมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายโดยผ่านเส้นเลือด ในร่างกายมีเลือดอยู่ประมาณ 7 – 8 % ของน้ำหนักตัว เลือดมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ

  1. น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma) มีประมาณ 55%
  2. เซลล์เม็ดเลือด (blood cell) มีประมาณ 45% โดยเม็ดเลือดประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง (red blood cell) เม็ดเลือดขาว (white blood cell) และเกล็ดเลือด (platelet)

เม็ดเลือดแดง  มีหน้าที่ขนส่งนำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายเมื่อหายใจออก  มีลักษณะกลมแบนและมีรอยเว้าตรงกลาง

เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย คอยต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ

เกล็ดเลือด มีหน้าที่สำคัญในการห้ามเลือด ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวและรวมตัวกันอุดบริเวณที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือด

พลาสมาหรือน้ำเลือด ทำหน้าที่ควบคุมความดันเลือด ปริมาณของเลือด ป้องกันเลือดออก ขนส่งสารอาหารโดยการดูดซึมสารอาหารจากกระเพาะอาหารและลำไส้เข้าสู่กระแสโลหิต แล้วไหลเวียนส่งต่อให้เซลล์เนื้อเยื่อของอวัยวะทั่วร่างกาย

นอกจากนี้เลือดยังมีหน้าที่รักษาดุลย์ของน้ำและเกลือแร่ รวมทั้งปรับระดับอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ด้วยการไหลเวียนของโลหิตไปทั่วร่างกาย

            

 

หมู่เลือด (blood type หรือ blood group) 

คือ การแยกแยะเลือดเป็นหมวดหมู่ โดยทั่วไปที่ใช้มีสองระบบคือ ระบบเอบีโอ (ABO System) และ ระบบอาร์เอช (Rh System) โดยจำแนกตามแอนติเจน (Antigen) บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่

หมู่เลือดสามารถจำแนกได้มากมายหลายระบบ ซึ่งมากกว่า 20 ระบบ  แต่ระบบหมู่เลือดที่สำคัญที่ทุกคนควรทราบมี 2 ระบบได้แก่

  1. หมู่เลือดระะบบเอบีโอ (ABO System) จะแบ่งออกได้เป็น 4 หมู่ คือ A , B , AB และ O  โดยหมู่เลือด O พบมากที่สุด, A กับ B พบได้มากพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด
  2. ระบบอาร์เอช (Rh System) โดยจะมีสารโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเรียกว่า แอนติเจน-ดี (Antigen-D) เป็นตัวบ่งบอกหมู่เลือดระบบ Rh (D) แบ่งออกเป็น 2 หมู่คือ
    • หมู่เลือด Rh บวก (Rh+ / Rh positive) คือหมู่เลือดที่มีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ในคนไทยมีหมู่เลือด Rh (D) บวกประมาณ 99.7 % ซึ่งก็คือเกือบทั้งหมดของคนไทยเป็น Rh+
    • หมู่เลือด Rh ลบ (Rh- / Rh negative)  คือหมู่เลือดที่ไม่มีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง พวกนี้จะพบได้น้อยมาก  โดยในคนไทยพบว่า มีหมู่เลือดนี้เพียง 0.03 % หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น โดยจะพบมากขึ้นในกลุ่มชาวตะวันตก และชาวไทยซิกข์ แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อยมากเท่านั้น ซึ่งเราเรียกว่า “หมู่โลหิตหายาก” หรือ “หมู่โลหิตพิเศษ” นั่นเอง

ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือด เช่น  เลือดกรุ๊ป AB Rh+ จะพบในคนไทยเพียง 7% คือ ในหมื่นคนพบเพียง 700 คน ที่มีเลือดกลุ่มนี้ แต่ถ้าเป็นเลือด AB ็Rh- จะเป็นหมู่เลือดพิเศษซึ่งหายากที่สุด จะพบแค่ 1.5 คน ในหมื่นคนเท่านั้น

มารดาและบุตรในครรภ์ หากกลุ่มเลือด Rh System ไม่ตรงกัน (มีโอกาสเกิดน้อยมากในคนไทย) มีโอกาสทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด

ดังนั้น ทุกคนควรทราบว่าตนเองมีหมู่เลือดอะไร  เพราะมีความสำคัญอย่างมากต่อการรับเลือด และการบริจาคเลือดในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน 

เลือด สถิติ 2         blood group photo

 Note:  สำหรับคนที่มี “หมู่เลือดหายาก” อย่าเพิ่งตกใจกลัวจนไม่กล้าทำอะไรนะคะ เพราะได้มีการจ้ดตั้งกลุ่มสำหรับผู้ที่มีโลหิดหมู่พิเศษขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือกันหลายกลุ่ม และด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้การกระจายข่าวและการช่วยเหลือกันทำได้ดีขึ้น กลุ่มเหล่านี้ เช่น

  • Facebook คนกรุ๊ปเลือดหายาก (O Rh-, O negative, AB)  … เลือดหมู่ AB Rh+ ก็เป็นเลือดหายากนะคะ
  • ชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ Rh-negative Club    http://www.rh-negative.com/history.php

การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด

  1. คนเลือดกรุ๊ป Rh- ต้องรับจาก Rh- เท่านั้น แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย (หากคนเลือดกรุ๊ป Rh- รับเลือดจาก Rh+ อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)
  2. คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
  3. คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุ๊ป แต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ป AB
  4. คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A, O ให้ได้กับ A, AB
  5. คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B, O ให้ได้กับ B, AB

ทั้งนี้ คนที่ได้รับเลือดจากกรุ๊ปอื่น จะสามารถรับได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะถ้าเกิดมีครั้งที่สอง จะทำให้เลือดตกตะกอน และจะมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น

 

 

 

ขอขอบคุณ แหล่งที่มา    http://th.wikipedia.org/wiki/หมู่โลหิต  และ  http://www.medicthai.com/

4,868 views

ไม่เปิดรับความคิดเห็น