• Subcribe to Our RSS Feed

เรือตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วไหลในน้ำ

เรือตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วไหลในน้ำ

ปีการศึกษา 2554

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นเครื่องช่วยชีวิต สำหรับเจ้าหน้าที่พนักงานและประชาชนทั่วไปที่ต้องสัญจร เดินลุยน้ำไปในสถานที่ที่น้ำท่วมขัง หรือเจ้าหน้าที่ใช้ในการสำรวจพื้นที่ต่างๆ ที่คาดว่าจะมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล

ที่มาของการประดิษฐ์

เนื่องจากปลายปี 2554 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในจังหวัดต่างๆ และผลปรากฏว่ามีประชาชนโดนไฟฟ้าดูด ถึงขั้นเสียชีวิต ทางกลุ่มนักศึกษาจึงมีแนวความคิด
เพื่อให้ประชาชน บุคคลทั่วไปได้รับความปลอดภัยให้มากที่สุด จึงคิดประดิษฐ์เรือตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วไหลในน้ำ

ทฤษฎี / หลักวิชาการที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น

ในด้านของหลักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวงจรตรวจจับกระแสไฟฟ้าโดยใช้แรงดันไฟฟ้าที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เป็นตัวทำการแสดงผลให้กับหลอด LED และเสียงไซเรน พร้อมกับประยุกต์ใช้งานร่วมกับเรือบังคับและเครื่องบังคับเรือ ในระยะ 1 – 50 เมตร เพื่อความปลอดภัยของผู้บังคับเป็นอันดับแรก

หลักการทำงานของวงจรตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วไหลในน้ำ คือ

  1. เมื่อเปิดเครื่อง เรือจะทำงานโดย มีไฟ LED กระพริบและเสียงไซเรนดัง 1 ครั้ง
  2. เมื่อแล่นเรือเข้าไป ระยะ 20 เมตร หลอด LED ไม่ติด แสดงว่าในบริเวณนั้นไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว
  3. เมื่อเรือแล่นผ่านน้ำในระยะ 10 เมตร จะมีไฟกระพริบ แสดงว่าบริเวณนั้นมีกระแสไฟรั่วอยู่ แต่แรงดันต่ำประมาณ 1 – 100 โวลต์
  4. ถ้าเมื่อเรือแล่นผ่านน้ำในระยะ 5 เมตร จะมีไฟกระพริบพร้อมกับเสียงสัญญาณไซเรนดังแสดงว่าบริเวณนั้นมีกระแสไฟรั่วอยู่ มีแรงดันไฟฟ้ามาก ประมาณ 100 – 220โวลต์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ประโยชน์ของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่นำไปใช้งาน

  • สามารถเตือนภัยจากการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าภายในบ้านหรือสถานที่ที่มีน้ำท่วมขังหรือที่คาดว่ามีการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
  • สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานของเจ้าหน้าที่ บุคคลทั่วไป ในการที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ
  • สามารถประยุกต์นำไปใช้ในการช่วยผู้ประสบภัยตามสถานที่ต่างๆได้ง่าย น้ำหนักเบา ขนาดเล็กแสดงผลออกมาเข้าใจได้ง่าย

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

แผ่นพลาสติกใส, วงจรเรือ, แบ็ต, เครื่องชาร์จมอเตอร์, ใบพัด, โฟมว่ายน้ำ, วงจรตรวจจับไฟรั่ว

ผู้รับผิดชอบโครงงาน

  • นายวีระ สมชนะ แผนกวิชาไฟฟ้า ปวส.2 (ม.6)
  • นายศิษฎ์ แก่นทอง แผนกวิชา ไฟฟ้า ปวส.2 (ม.6)
  • นายเมธวัจน์ ศุภิศรารวิวงศ์ แผนกวิชาไฟฟ้า ปวส.2 (ม.6)

ที่ปรึกษาโครงงาน:

อาจารย์เจริญ ต้นแทน, อาจารย์พิเชษฐ์ นุกูลธรรม

14,084 views